ติดตามข่าวสารอื่นๆ ที่น่าสนใจได้ที่ thaizones.net นะครับ.. ^0^. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ตั้ง Password ง่ายเกินไปส่งผลกระทบอะไรกับเราบ้าง



ปัญหาที่ทำปวดหัวมาก!!! ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคือเรื่อง "พาสเวิร์ด" ซึ่งเวลาล็อกอินมักจะลืมพาสเวิร์ดทุกที แล้วก็ใช้วิธีการตั้งพาสเวิร์ดง่ายๆแบบที่ใครๆ ก็สามารถเดาได้ แถมยังใช้ทุก account อีกด้วย แบบนี้มันก็สามารถถูกแฮคได้ง่ายๆนะสิ เช่นกัน มายด์เทอร่า

ผู้ให้บริการระบบไอทีซีเคียวริตี้ต่างๆแบบครบวงจร เตือนภัยเหล่าชาวไซเบอร์ทั้งหลายถึงวิธีการตั้งรหัสแบบง่ายๆ นั้นส่งผลกระทบอย่างไรกับเราบ้าง เริ่มจาก

1. เสียชื่อเสียง รหัสผ่านที่ง่ายเกินไปก็ถูกเจาะระบบคอมพิวเตอร์ได้ง่ายๆและเมื่อคนร้ายได้ข้อมูลส่วนตัวไป แล้วสิ่งที่จะตามมาคือการเอาข้อมูลของเราไปใช้ต่อ ซึ่งแน่นอนว่าคงไม่ได้ใช้ในทางที่ดีแน่ๆหากเช่นกรณีที่เคยตกเป็นข่าวมาแล้ว คือ คนร้ายแฮคเฟสบุ๊คผู้อำนวนการโรงเรียนแห่งหนึ่งแล้วขอยืมเงินจากเพื่อนของ ผอ. ซึ่งมีคนหลงเชื่อโดนไปหลายคน เป็นต้น



2. เสียทรัพย์ ข้อมูลที่คนร้ายได้ไปสามารถเชื่อมโยงไปถึงกันได้ทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ยังใช้พาสเวิร์ดเดียวกันทั้งหมดสำหรับทุกๆ account ไม่ว่าจะเป็นอีเมล์ อินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้ง และโซเชียลเน็ตเวิร์ค,มือถือ

ทีนี้ก็จะไม่ยากที่คนร้ายจะขโมยเงินไปจากกระเป๋าของเรา เช่น เขาอาจจะเอาข้อมูลที่ได้มานั้นไปทำบัตรเครดิต หลอกให้คนโอนเงิน หรือวิธีการต่างๆ โดยใช้การยืนยันตัวตนภายใต้ชื่อของเรา

3. ผลกระทบต่อองค์กร ข้อมูลขององค์กรก็เป็นอีกหนึ่งความลับที่เราต้องเก็บรักษากันอย่างดี เพราะหากมันหลุดไปอยู่ในมือของคนนอกย่อมส่งผลกระทบมากต่อองค์กรเป็นแน่

พาสเวิร์ดก็เป็นเหมือนประตูด่านแรกที่จะช่วยป้องกันการบุกรุกเข้ามาของคนร้าย ฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างประตูนั้นให้แข็งแรงที่สุด

เคล็ด(ไม่)ลับที่อยากบอกต่อ: ถ้าให้ตั้งพาสเวิร์ดยากๆ แตกต่างกันทุก account แล้วกลัวลืม เดี๋ยวนี้มีพวก Password Management เช่น 1Password, LastPass, Sticky Password หรืออื่นๆ

ในการช่วยจำที่มีทั้งฟรีและเสียตังค์ วิธีนี้ถึงจะไม่การันตีว่าปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์แต่ก็ช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้นเยอะเลยทีเดียว

ที่มา: http://hitech.sanook.com/1392605

ติดตามข่าวสารไอที คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค รุ่นใหม่ราคาประหยัด แนะนำวิธีการใช้งานและการแก้ปัญหาได้ที่ : http://hitech.sanook.com/computer

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น