ติดตามข่าวสารอื่นๆ ที่น่าสนใจได้ที่ thaizones.net นะครับ.. ^0^. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557

คู่มือเบื้องต้นในการดูสเปกแท็บเล็ตฉบับอัพเดทปี 2014

คู่มือเบื้องต้นในการดูสเปกแท็บเล็ตฉบับอัพเดทปี 2014

          ในปัจจุบันแท็บเล็ตก็ถือได้ว่าเป็นหนึ่งอุปกรณ์ไอทีที่ได้รับ ความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะด้วยความที่ว่าใช้งานได้ไม่แตกต่างจากสมาร์ทโฟนในเรื่องของแอพพลิเค ชั่นต่างๆ รวมไปถึงมีหน้าจอที่ขนาดใหญ่ทำให้มองเห็นได้ชัดเจน ทำงานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นงานด้าน Productivity อย่างงานเอกสาร เช็คอีเมล์ การใช้งานด้าน Social Network ในการติดตามข้อมูลข่าวสารทั่วไป เเละด้านมัลติมีเดียอย่างการดูหนังฟังเพลง เล่นเกมภาพความละเอียดสูงได้บนแท็บเล็ตในเครื่องนี้เครื่องเดียว
          ถ้าเปรียบภาพรวมให้เข้าใจได้ง่ายๆ แท็บเล็ตจะมีลักษณะที่เหมือนกับสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ ที่มีตัวประมวลผลเป็นส่วนกลางในการคำนวณคำสั่งต่างๆ ที่เราป้อนเข้าไปในแท็บเล็ต มีหน้าจอไว้เเสดงผลเเละปุ่มต่างๆ ไว้ควบคุมการทำงานของเครื่อง เเรมไว้เก็บข้อมูลที่เราเรียกใช้งานชั่วคราว? รวมไปถึงฟีเจอร์อื่นๆ ที่ทำให้แท็บเล็ตใช้งานได้หลากหลาย อย่างกล้องถ่ายรูป เซนเซอร์ต่างๆ รวมไปถึงระบบ GPS นำทาง ส่งผลให้แท็บเล็ตกลายเป็นอุปกรณ์สารพัดประโยชน์สามารถใช้งานได้หลายด้านตาม ความต้องการ?

ระบบปฏิบัติการ (OS)

          ระบบปฏิบัติการเป็นปัจจัยแรกที่เราต้องรู้จักและทำความเข้าใจ โดยระบบปฎิบัติการ ก็คือ โปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมและสั่งการการทำงานของฮาร์ดแวร์ รวมไปถึงเป็นตัวกลางให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้ง่ายและสะดวก โดยตัวอย่างระบบปฏิบัติการในคอมพิวเตอร์ที่เราคุ้นเคย ก็จะเป็น Windows, Linux หรือ Mac OS X ที่แน่นอนแท็บเล็ตเองก็จำเป็นที่ต้องมีระบบปฏิบัติการไว้สำหรับใช้งาน ซึ่งระบบปฏิบัติการหลักๆ ในแท็บเล็ตมีดังต่อไปนี้
  • Android?ระบบปฏิบัติการจากทาง Google ที่ได้มีการพัฒนาขึ้นมาจากระบบปฏิบัติการของสมาร์ทโฟน โดยมีจุดเด่นในแง่ของการใช้งานที่ยืดหยุ่นหลากหลาย มีความเป็นอิสระ อีกทั้งแต่และค่ายผู้ผลิตแท็บเล็ตยังได้มีการนำระบบปฏิบัติการ Android ไปปรับแต่งเพื่อเติมให้มีความเหมาะการใช้งานมากยิ่งขึ้นแต่ละบุคคล อีกทั้งยังมีรุ่นให้เลือกจำนวนมากอีกด้วย ตั้งแต่ราคาไม่กี่พันจนไปถึงหลักสองหมื่นบาท ปัจจุบันจะเป็นเวอร์ชั่น 4.0 ขึ้นไปทั้งหมด
  • iOS?ระบบปฏิบัติการของ Apple ซึ่งแท็บเล็ตที่ใช้อยู่ก็คือ iPad ?และ iPad mini โดยเรียกได้ว่าเป็นตัวเดียวกับที่ใช้งาน iPhone ซึ่งจุดเด่นของ iOS แล้วละก็คงจะเป็นที่ประสิทธิภาพในการทำงานกับฮาร์ดแวร์ที่มีความสเถียรที่ สุด รวมไปถึงมีแอพพลิเคชั่นที่รองรับการใช้งานมากมาย ที่สำคัญยังจัดการหน่วยความจำได้ดีกว่าดีกว่าแท็บเล็ตระบบปฏิบัติการอื่นๆ อีกด้วย สำหรับข้อสังเกตุก็คงเป็นการที่ไม่รองรับ Flash (ไม่สามารถแสดงผลได้) และการเชื่อมต่อหรือถ่ายโอนข้อมูลที่หลักๆ แล้วต้องทำผ่านโปรแกรม iTunes บนคอมพิวเตอร์เท่านั้น ปัจจุบันเข้าสู่เวอร์ชั่น 7 อย่างเต็มตัว
  • สุดท้ายกับระบบปฏิบัติการ Windows ของทาง Microsoft ที่หลายคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว เพราะเรียกได้ว่าเป็นตัวเดียวกับที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ทั่วไป ที่ในตอนนี้ได้มีพัฒนาจนเป็น Windows 8 แล้ว โดยมีการเพิ่มในส่วนของการใช้งานหน้าตาทัชกรีนที่ใช้งานได้เหมาะสมกว่าการ ใช้หน้า Desktop ซึ่งมีชื่อว่า Modern UI ที่มีจุดเด่นในแง่ของการติดตั้งโปรแกรมได้เหมือนกับในคอมพิวเตอร์ปกติเลย แต่ก็มีจุดด้อยตรงที่แอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่ใช้งานแท็บเล็ตยังน้อยอยู่ แต่็คาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นมาในอนาคต

ตัวประมวลผล (CPU)



          ถ้าพูดถึงส่วนที่สำคัญที่สุดของแท็บเล็ตในปัจจุบันอาจจะกล่าวได้ว่าคือ ตัวประมวลผล ซึ่งในปัจจุบันตัวประมวลผลนั้นประกอบไปด้วย CPU เเละ GPU ในตัวเดียวกัน ซึ่งตัวประมวลผลนี้ส่งผลโดยตรงต่อความเร็วเเละความลื่นไหลในการใช้งานโดยตรง ของเครื่อง ซึ่งปกติเเล้วเครื่องระดับไฮเอนด์จะใช้ตัวประมวลผลที่มีประสิทธิภาพสูงทำให้ การใช้งานนั้นมีความเร็วสูงตามไปด้วย ในขณะที่เครื่องรุ่นล่างเเละกลางก็จะใช้ตัวประมวลผลที่มีประสิทธิภาพรองลงมา องค์ประกอบหลักๆ มีสามส่วนดังนี้ครับ
  • ความเร็วซีพียู ถูกวัดด้วยค่า MHz เเละ GHz จำนวน 1000 MHz จะถูกนับเป็น 1 GHz จำนวนยิ่งมากยิ่งประสิทธิภาพสูง
  • จำนวนคอร์ จำนวนคอร์ยิ่งมากยิ่งสามารถรองรับการทำงานได้ดีขึ้น เเบ่งเป็น Single Core, Dual Core เเละ Quad Core (1 คอร์ 2 คอร์ เเละ 4 คอร์) เห็นผลได้ชัดในการสลับเรียกโปรเเกรมหรือมีโปรเเกรมทำงานพื้นหลังอยู่
  • สถาปัตยกรรม เรียงจากจำนวนตัวเลข โดยเริ่มจาก ARM Cortex A5, A8, A9 เเละ A15 ในความเร็วเท่ากัน ถ้าสถาปัตยกรรมดีกว่าจะมีความเร็วที่สูงกว่า เช่น Cortex A9 ที่ความเร็ว 1 GHz ประสิทธิภาพจะสูงกว่า ARM Cortex A5 ความเร็ว 1 GHz เเต่ Qualcomm นั้นมีสถาปัตยกรรมที่เเยกต่างหากจาก ARM โดย Scorpion จะเทียบเท่า Cortex A8 ส่วน Krait จะอยู่เหนือกว่า Cortex A9 แต่ไม่ถึง Cortex A15 ครับ และปัจจุบัน ARM ก็ได้วาง Cortex-A17 Quad core สำหรับสมาร์ทโฟนระดับกลางไปเรียบร้อย 
  • เทคโนโลยีการผลิต ในปัจจุบันเเบ่งเป็น 40 นาโนเมตร 32 นาโนเมตร เเละ 28 นาโนเมตร จำนวนยิ่งต่ำยิ่งประหยัดพลังงานเเละมีประสิทธิภาพดีกว่าในจำนวนความเร็วซีพี ยูที่เท่ากัน
  • GPU ส่วนใหญ่วัดจากชื่อรุ่น โดยดูจากผลเทสว่าทำคะเเนนได้ดีกว่ารุ่นอื่นๆ เเค่ไหน

          โดยในปี 2014นี้ เราจะได้เห็นชิปประมวลผลที่มีคอร์ในการประมวลผลสูงสุดถึง 8 คอร์ด้วยกัน (Octa Core) โดยตัวอย่างชิปประมวลผลที่เราจะได้เห็นบ่อยๆ จากแต่ละค่ายก็เช่น

Qualcomm

          สำหรับชิปล็อตเก่าจะมีด้วยกัน 4 ไลน์ย่อย ได้แก่ Play, Plus, Pro และ Prime (เรียงลำดับความแรงจากน้อยไปมาก) ซึ่งตัวอย่างของชิปที่ได้รับความนิยมของแต่ละไลน์ก็เช่น

  • Play : MSM8225 (Dual Core)
  • Plus : MSM8227 (Dual Core), MSM8260A (Dual Core), MSM8960 (Dual Core)
  • Pro : APQ8064 (Quad Core)
  • Prime : MPQ8064 (Quad Core)
          ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งจะเป็นชิปประมวลผลรุ่นใหม่ของ Qualcomm ที่เปิดตัวในปีนี้ โดยปรับการเรียกชื่อซีรี่ย์ให้เป็นตัวเลข 3 หลัก นั่นคือ Snapdragon 800, Snapdragon 600, Snapdragon 400 และ Snapdragon 200 (เรียงตามลำดับความแรง) โดยในปัจจุบันมี Snapdragon 805 ทำงานในแบบ Quad core เป็นตัวชูโรง ซึ่งมาพร้อม GPU Adrano 420 ที่เป็นกราฟฟิกทรงประสิทธิภาพ
NVIDIA Tegra 4
          ด้านของ NVIDIA เอง ปีนี้ก็ได้ทำการเปิดตัวชิปประมวลผลรุ่นใหม่ของตนออกมา นั่นก็คือ Tegra 4 ซึ่งยังคงคอนเซ็ปท์การแบ่งคอร์ประมวลผลเป็นสองชุดอยู่เช่นเดียวกับ Tegra 3 คือมี 1 คอร์สำหรับประมวลผลงานเบาๆ ทั่วไป และระหว่างสแตนด์บาย ส่วนอีก 4 คอร์ที่เหลือจะเก็บไว้ใช้สำหรับการประมวลผลหนักๆ ซึ่งช่วยให้ในระหว่างการทำงานทั่วไป ระบบจะไม่กินพลังงานมากนัก ส่วนด้านการประมวลผลกราฟิก ก็มีการเพิ่มคอร์ของ GPU ทำให้ประสิทธิภาพการประมวลผลกราฟิกสูงขึ้นกว่า Tegra 3 ถึงหกเท่า
โดยอุปกรณ์ที่ใช้งานชิป Tegra 4 น่าจะเริ่มออกมาตั้งแต่ช่วงปลายปีเป็นต้นไป คาดว่าในช่วงแรกน่าจะเน้นไปที่กลุ่มแท็บเล็ต Android ก่อนเช่นเคย
Samsung Exynos
          ส่วนของ Samsung เองก็ได้จัดการเปิดตัวชิปประมวลผล Exynos รุ่นใหม่ของตนด้วยเช่นกัน ในชื่อ Exynos Octa ที่น่าสนใจก็คือมีคอร์ประมวลผลสูงสุดถึง 8 คอร์ แต่จะแบ่งคอร์ออกเป็นสองชุด คือชุดที่ใช้สถาปัตยกรรม Cortex A7 จำนวน 4 คอร์ ไว้สำหรับประมวลผลงานเบาๆ ธรรมดาทั่วไป ส่วนอีก 4 คอร์เป็นสถาปัตยกรรม Cortex A15 โดยเอาไว้ใช้ประมวลผลงานหนักๆ ซึ่งตัวของ Exynos Octa นี้น่าจะลงมาอยู่ในสมาร์ทโฟน/แท็บเล็ตรุ่นไฮเอนด์ของ Samsung ในปีนี้อย่างแน่นอน
ชิปประมวลผลจากผู้ผลิตรายอื่นๆ
          ในปีนี้เราน่าจะได้เห็นชิปประมวลผลจากผู้ผลิตรายอื่นๆ มาอยู่ในสมาร์ทโฟน/แท็บเล็ตมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องราคาประหยัด หรือที่เรียกง่ายๆ ว่ามือถือจีน แท็บเล็ตจีน รวมไปถึงแท็บเล็ตราคาประหยัดจากอินเตอร์แบรนด์หลายๆ รายที่หันลงมาเล่นตลาดนี้ด้วย ซึ่งเครื่องกลุ่มนี้มักจะใช้ชิปประมวลผลจาก MediaTek เป็นหลัก ซึ่งประสิทธิภาพก็อยู่ในระดับที่สามารถใช้งานทั่วไปได้สบายๆ แต่อาจจะมีกระตุกบ้างถ้ามีการใช้งานหนักๆ ซึ่งก็เป็นไปตามราคาเครื่องครับ
Intel?
          นอกเหนือจากนี้ยังมีในส่วนของแท็บเล็ตที่ใช้ชิปประมวลผลของทาง Intel โดยสถาปัตยกรรมเป็น X86 ที่ส่วนมากแล้วแท็บเล็ตประเภทนี้จะมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows ซึ่งในส่วนของ Intel จะมีการเลือกใช้งานในแท็บเล็ตตั้งแต่ชิปประมวลผล Intel Atom ที่เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป และ Intel Core i จะเหมาะกับการใช้งานที่เน้นการประมวลผลหรือใช้งานหนัก
AMD
          แน่นอนว่าเป็นสถาปัตยกรรมเป็น X86 และหลักๆ แล้วจะมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows?คาดว่าจะมีการใช้งานในแท็บเล็ตและวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการในปีนี้ ที่สำคัญคือจะมาเป็นเทคโนโลยี APU ซึ่งมีหน่วยประผลกราฟิกที่เหนือกว่าฝั่งของ Intel?

เเรม (RAM)

samsung-20nm-lpddr2
          เเรมหรือหน่วยความจำนั้นเป็นที่เก็บข้อมูลชั่วคราวที่เรากำลังเรียกใช้ งานอยู่ ซึ่งปกติเเล้วเเรมจะมีความเร็วสูงกว่าข้อมูลที่เก็บเอาไว้ในพื้นที่เก็บ ข้อมูลปกติ (รอม) ทำให้สามารถใช้งานเเบบมัลติทาสก์ได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้เเล้วเเอพลิเคชันบางตัวมีการใช้งานหน่วยความจำที่สูง จึงไม่มีเเรมเพียงพอที่จะรันเซอร์วิสในเเบคกราวด์อื่นๆ ทำให้เกิดอาการเเอพลิเคชันไม่รันในเเบคกราวด์เพราะโปรเเกรมที่อยู่ในพื้น หลังจะปิดตัวเองอัตโนมัติถ้าเเรมไม่พอ ทำให้ไม่สามารถใช้งานมัลติทาสก์ได้อย่างเต็มที่ถ้าเเรมมีน้อยเกินไป เพราะเมื่อสลับเเอพนั้นจะเหมือนเราเปิดเเอพขึ้นมาใหม่เสมอ ไม่ใช่สภาพล่าสุดที่เราใช้งานเเรมมาตรฐานถ้าต้องการใช้งานได้ดีขั้นต่ำควร อยู่ที่ 512 MB ขึ้นไปครับ โดยในปัจจุบันแรมของสมาร์ทโฟนจะมีแบ่งตามระดับราคาคร่าวๆ ดังนี้

  • ช่วงราคาไม่เกิน 10,000 บาท โดยมากจะมีแรมอยู่ที่ 512 MB – 1024 MB
  • ช่วงราคา 10,001 บาท ? 15,000 บาท โดยมากจะมีแรมอยู่ที่ 1024MB – 2 GB
  • ช่วงราคา 15,001 บาทเป็นต้นไปจะมีทั้ง 1 GB และ 2 GB (รุ่นท็อปของปีนี้น่าจะเป็น 3 GB กันหมด)

รอม (ROM)

          รอมหรือพื้นที่เก็บข้อมูลนั้นในปัจจุบันได้พัฒนาความจุไปมาก โดยส่วนใหญ่เเล้วในรุ่นระดับกลางก็จะเห็นตั้งเเต่ 8 GB ขึ้นไป ซึ่งจะเเบ่งออกเป็นสองส่วนคือ System Partition ที่เป็นส่วนของระบบในการติดตั้งตัวรอมเเละพื้นที่ติดตั้งเเอพลิเคชันใน เครื่อง ส่วนที่เหลือก็เป็นที่เก็บข้อมูลเเบบปกติเหมือนกับ micro-SD card ทั่วไป เช่น เอาไว้เก็บรูปหรือเพลงได้

ขนาดเเละความละเอียดของหน้าจอ (Size & Resolution)


?

          ในปัจจุบันหน้าจอของแท็บเล็ตหลักๆ แล้วจะมีตั้งเเต่ขนาด 7 นิ้วไปจนถึง 11 นิ้ว ซึ่งมีให้เลือกตามความเหมาะสม สำหรับคนที่ต้องการพกพาที่สะดวกสบายที่สุดคงต้องมองเป็นขนาดหน้าจอ 7 – 8 นิ้ว ที่นอกจากนี้เเล้วส่วนมากหน้าจอที่มีขนาดเล็กมักจะมีราคาต่ำกว่าหน้าจอขนาด ใหญ่อีกด้วย โดยความละเอียดสูงสุดจะอยู่ที่ 1280 x 720 พิกเซลขึ้นไป
          สำหรับคนที่ต้องใช้งานแท็บเล็ตอ่านข่าวสารและเล่นเกมเป็นหลักนั้น ควรเลือกหน้าจอที่มีขนาด 9 นิ้วขึ้นไป เพราะตัวอักษรจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเเละอ่านได้สบายตากว่าในระยะเวลานาน ส่วนความละเอียดหน้าจอนั้นควรจะอยู่ที่ 1280 x 720 พิกเซลขึ้นไป โดยแท็บเล็ตรุ่นระดับสูงๆ จะมาพร้อมกับความละเอียดที่สูงมากๆ อย่าง 1920 x 1080 ขึ้นไป เพื่อความเรียบเนียบในการแสดงผล ส่งผลให้ได้ประสบการณ์ใช้งานที่ดี

เทคโนโลยีหน้าจอ (Panel)



          ปัจจุบันนี้หน้าจอเเยกออกเป็นสองเเบบใหญ่ๆ คือ LCD เเละ AMOLED โดย LCD นั้นจะเป็นเทคโนโลยีเเบบดังเดิมคือมีเเสงไฟปล่อยจากข้างหลังจอเเละมีการเปิด ปิดของพิกเซลในการเเสดงสี ส่วน AMOLED นั้นพิกเซลจะเปล่งเเสงได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องอาศัยไฟ Backlit เหมือน LCD
โดยธรรมชาตินั้นข้อดีของ LCD คือสามารถเเสดงสีได้เป็นธรรมชาติเเละมีอายุการใช้งานยาวนาน อีกทั้งยังมีต้นทุนที่ต่ำเนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่มีมานานเเล้ว ข้อจำกัดคือไม่สามารถเเสดงสีดำได้สนิทนักโดยจะเห็นว่ามีเเสงสีขาวเเสดงขึ้น มาบ้าง
          ส่วน AMOLED นั้นมีข้อดีคือสามารถเเสดงสีดำได้สนิทเนื่องจากเป็นการ ?ปิด? การเเสดงสีของพิกเซลที่เเท้จริง เเละไม่มีเเสงไฟปล่อยจากด้านหลังเหมือนหน้าจอ LCD เเต่ส่วนใหญ่เเล้วจอ AMOLED นั้นจะมีการเเสดงคอนทราสที่สูง ทำให้สีนั้นมีความสดกว่าต้นฉบับ ซึ่งอาจจะกระทบต่อการใฃ้งานสำหรับคนที่ต้องการความเที่ยงตรงของสีได้
จอ LCD ในปัจจุบันเเบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ
  • TN Panel (Twisted nematic) เป็นหน้าจอเเบบปกติที่ใช้กันทั่วไป ส่วนใหญ่ใช้ในเครื่องระดับล่าง ? กลาง
  • IPS Panel (In-Plane-Switching) เป็นพาเนลที่ถูกพัฒนาในเรื่องของมุมการมองที่กว้างขึ้นกว่า TN เเละสร้างเม็ดสีที่ออกมาคมชัดเเละเที่ยงตรงกว่าเเบบ TN ที่ส่วนใหญ่ถูกใช้ในเครื่องระดับกลางไปทางสูงเเละเครื่องระดับสูง
          ส่วนจอ OLED นั้นปัจจุบันที่ถูกใช้กันอย่างเเพร่หลายมีเฉพาะของ Samsung เท่านั้นโดยในชื่อเครื่องหมายการค้าชอง Samsung ที่ชื่อ ?Super AMOLED? ซึ่งข้อดีชองจอชนิดนี้ก็อย่างที่กล่าวมาข้างต้นคือ นอกจากนี้เเล้วยังมีการประหยัดพลังงานที่ยืดหยุ่นตามการใช้งาน คือจะใช้พลังงานเมื่อเฉพาะมีการเปล่งเเสงสีอื่นที่ไม่ใช่สีดำออกมา เเต่ถ้ามีการเปล่งเเสงอื่นๆ (ขาว เเดง เขียว น่้ำเงิน เเละอื่นๆ) ออกมามากที่ไม่ใช่สีดำก็มีอัตราการกินพลังงานไม่ต่างกับหน้าจอชนิดอื่นเช่น กัน
จอ Super AMOLED ในปัจจุบันเเบ่งออกมาสองประเภทหลักๆ คือ
  • การเรียงพิกเซลเเบบ Pentile การเรียงพิกเซลโดยใช้จำนวน Subpixel ที่ไม่ใช่ตามปกติ (RGB) โดยมีการเพิ่ม Subpixel เข้าไปทำให้พิกเซลนั้นไม่ได้เรียงตัวเเบบปกติเเละมีรอยหยักที่เห็นได้ชัดเจน เเละไม่คมชัดเท่าเเบบ RGB เเบบปกติ จอที่มีการเรียงเเบบ Subpixel จะมีสีที่เพี้ยนตามจำนวน Subpixel ที่เพิ่มเข้ามา เช่นถ้าเป็น RGBG ภาพก็จะออกมาเป็นโทนเขียวมากกว่าปกติ เเม้จะเเสดงสีขาวก็จะเป็นเเบบสีขาวอมเขียว ซึ่งทาง Samsung ได้บอกว่าการเรียงพิกเซลเเบบนี้จะทำให้จอ Super AMOLED มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้นเพราะจะมีพิกเซลสีน้ำเงินน้อยกว่าปกติซึ่งเป็น เม็ดพิกเซลที่เสื่อมสภาพก่อนเม็ดอื่นๆ
  • การเรียงพิกเซลเเบบ RGB เป็นการใช้การเรียงพิกเซลเเบบมาตรฐานเหมือนกับจอ LCD ทำให้ไม่ภาพที่ได้ออกมาไม่มีรอยหยักเเละมีความคมของภาพมากกว่า

กล้องดิจิตอล (Camera)



          เทคโนโลยีกล้องดิจิตอลสำหรับอุปกรณ์พกพาในตอนนี้ส่วนใหญ่เเล้วจะเเข่งกัน ที่ความละเอียดพิกเซลเสียส่วนใหญ่ เเต่ก็มีการพัฒนาในเรื่องของค่ารูรับเเสงที่ดียิ่งขึ้นทำให้ถ่ายรูปในที่ เเสงน้อยได้ดีกว่าเดิม โดยดูจากค่า F ที่มีจำนวนยิ่งน้อยถือว่ายิ่งรับแสงสว่างได้ดี เช่น F2.2 นั้นดีกว่ากล้องที่มีค่า F ที่ 2.4 ซึ่งนอกเหนือจากค่า F ที่มีเลขน้อยจะช่วยให้รับแสงสว่างได้ดีขึ้นแล้ว ยังจะช่วยให้สามารถถ่ายภาพแบบ ?หน้าชัดหลังเบลอ? ได้ดีขึ้นอีกด้วย เเละส่วนใหญ่ก็มี LED Flash มาให้สำหรับเพิ่มเเสงสว่างเวลาถ่ายในที่มืดเหมือนกันหมด
          ที่ปกติแล้วแท็บเล็ตหลายๆ รุ่นก็จะมีการติดตั้งกล้องมาไว้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ซึ่งด้านหน้าจะไว้ใช้งาน VDO Call หรือถ่ายรูปตัวเองเป็นหลัก คุณภาพของกล้องก็จะไม่สูงมากนัก สเปกเริ่มต้นอยูที่สามแสนพิกเซล จนไปถึงระดับ 1 – 2 ล้านพิกเซล ส่วนกล้องด้านหลังจะมีคุณภาพที่สูงกว่าเพราะไว้ใช้งานถ่ายรูปแบบหลัก ซึ่งมีความละเอียดส่วนมากเริ่มต้นตั้งแต่ 2 พิกเซลขึ้นไป
          อย่างไรก็ตามกล้องที่มีคุณภาพดีนั้น ปัจจัยหลักที่สำคัญคือเรื่องของเซนเซอร์ที่ยังไม่มีการพูดถึงกันมากนัก สำหรับผู้ผลิต ทำให้ส่วนใหญ่ต้องดูจากภาพถ่ายของเครื่องจริง หรือข้อมูลเฉพาะรุ่นเป็นส่วนใหญ่ว่าเน้นเรื่องกล้องมากเเค่ไหน ส่วนใหญ่เเล้วแท็บเล็ตที่ใช้กล้องคุณภาพสูงอาจจะยังไม่มีมากมายนักหากเทียบ กับสมาร์ทโฟน นอกจากนี้ยังมีอีกปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของภาพถ่ายก็คือเรื่องของ ซอฟต์แวร์และกระบวนการประมวลผลภาพในตัวเครื่อง
          ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตอีกเช่นกัน ว่าจะทำส่วนนี้ออกมาได้ดีขนาดไหน ไล่มาตั้งแต่ก่อนถ่ายภาพเลย ว่าจะคำนวณค่าความสว่าง, White Balance, ISO ได้ดีขนาดไหน รวมไปถึงกระบวนการประมวลผลหลังถ่ายภาพแล้วอีก ทำให้ไม่สามารถฟันธงได้ 100% ว่ากล้องตัวไหนจะดีจะแย่ขนาดไหน ต้องชมจากภาพตัวอย่างที่เอามาเปิดบนจอเดียวกัน ไม่ใช่เปิดบนจอแท็บเล็ตเครื่องใครเครื่องมัน
ขอบคุณเนื้อหา และภาพประกอบ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น