ติดตามข่าวสารอื่นๆ ที่น่าสนใจได้ที่ thaizones.net นะครับ.. ^0^. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ขั้นตอนการดูแลแบตเตอรี่ด้วยตนเอง

การดูแลแบตเตอรี่ด้วยตนเอง
สำหรับผู้ที่ใช้ สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต รวมไปถึง โน้ตบุ๊ค และกล้องดิจิตอล ปัญหาหนึ่งที่มักจะพบเจอคล้ายๆ กับ นั่นก็คือ แบตเตอรี่หมดเร็ว และไม่เพียงพอต่อการใช้งานในแต่ละวัน ซึ่งในปัจจุบัน อุปกรณ์เหล่านี้จะหันมาใช้ แบตเตอรี่ชนิด Lithium-ion (Li-ion) เป็นมาตรฐานเสียส่วนใหญ่ เนื่อง จากแบตเตอรี่ชนิดนี้ สามารถจุพลังงานได้มาก อีกทั้งยังมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และพบปัญหาน้อยกว่าแบตเตอรี่รุ่นเก่าๆ และที่สำคัญก็คือ แบตเตอรี่ชนิด Lithium-ion (Li-ion) ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม แต่การใช้แบตเตอรี่ที่ไม่ถูกวิธี ก็ทำให้แบตเตอรี่เสื่อมไวได้เช่นกัน
อย่างไรก็ดี ถ้าหากเราถนอมใช้งานแบตเตอรี่ ก็ทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ อยู่ได้ยาวนานขึ้น มาดูวิธีการดูแลแบตเตอรี่ด้วยตนเอง เคล็ดลับดีๆ จาก ลาซาด้า กันดีกว่าครับ
เมื่อได้โทรศัพท์มือถือมาใช้ครั้งแรก
สำหรับท่านที่เพิ่งซื้อโทรศัพท์มือถือมาใช้ครั้งแรก เคล็ดลับในการถนอมแบตเตอรี่ ก็คือ การชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็ม แล้วทิ้งไว้ 1-2 ชั่วโมง เพราะ แบตเตอรี่ชนิด Lithium-ion (Li-ion) นั้น ไม่จำเป็นต้องชาร์จแบตเตอรี่ทิ้งไว้นานๆ เหมือนกับโทรศัพท์มือถือที่ใช้แบตเตอรี่รุ่นเก่าอีกต่อไป นอกจากนี้ แบตเตอรี่จะใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หลังจากที่ชาร์จไปแล้ว 3-5 ครั้ง
วิธีการชาร์จ
การชาร์จแบตเตอรี่ชนิด Lithium-ion (Li-ion) ไม่จำเป็นต้องรอให้แบตเตอรี่หมด หรือแบตเตอรี่อ่อนจนถึงแถบสีแดงแจ้งเตือน แม้ว่าแบตเตอรี่จะเหลืออยู่ถึง 60% แต่ก็สามารถทำการชาร์จได้เลยทันที และชาร์จได้บ่อยตามความต้องการของผู้ใช้
สมควรจะเปลี่ยนแบตเตอรี่เมื่อใด
แบตเตอรี่ เมื่อมีการใช้ไปเป็นระยะเวลานานๆ เป็นเวลา 1-2 ปี ก็มีโอกาสที่จะเสื่อมสภาพได้ ซึ่งผู้ใช้สามารถสังเกตได้ด้วยตนเอง ยกตัวอย่างเช่น แบตเตอรี่หมดเร็วผิดปกติ หรือ ชาร์จแบตเตอรี่มาจนเต็ม แต่ใช้งานได้เพียงครึ่งวัน หรือ แบตเตอรี่มีลักษณะที่บวมผิดปกติ ซึ่งถ้าหากเจอเหตุการณ์เหล่านี้ ถือเป็นสัญญาณบอกว่า สมควรที่จะเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่แล้วนั่นเอง
ข้อควรระวังเกี่ยวกับแบตเตอรี่
วิธีการถนอมแบตเตอรี่แบบง่ายๆ ก็คือ ไม่ควรปล่อยให้แบตเตอรี่หมดเกลี้ยงจนเครื่องดับไปเอง ซึ่ง ถ้าหากปล่อยให้แบตเตอรี่ประเภท Lithium-ion (Li-ion) หมดเป็นเวลานานๆ จะทำให้แบตเตอรี่เสื่อม หรือเสีย และไม่สามารถนำกลับมาใช้งานได้อีก นอกจากนี้ ควรเก็บแบตเตอรี่ไว้ในที่เย็น เนื่องจากอากาศที่ร้อน จะเป็นหนทางที่ทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็วได้อีกทางหนึ่ง
นอกจากในเรื่องของการชาร์จแบตเตอรี่ ที่จะช่วยถนอมอายุแบตเตอรี่ ให้อยู่ได้ยาวนานขึ้นแล้ว พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เอง ก็มีส่วนช่วยได้ด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น
  • ติดตั้งโปรแกรม Task manager เพื่อลบแอพพลิเคชั่นที่ไม่ได้ใช้งาน เป็นการช่วยประหยัดพลังงานแบตเตอรี่ได้อีกทางหนึ่ง
  • ยกเลิก Widget ที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน
  • ปิดการใช้งาน GPS, Wireless Network, Bluetooth หรือเครือข่าย 3G เมื่อไม่ได้ใช้งาน
  • การเลิกใช้ Live Wallpaper จะเป็นการช่วยประหยัดพลังงานแบตเตอรี่ได้อีกทางหนึ่ง
  • เพื่อช่วยให้แบตเตอรี่ใช้งานได้ยาวนานตลอดทั้งวัน การลดความสว่างของหน้าจอแสดงผลลง เป็นการช่วยประหยัดพลังงานได้ทางหนึ่ง แต่ไม่ควรลดความสว่างจนทำร้ายสายตาตัวเอง
  • ตั้งเวลาให้หน้าจอดับเร็วขึ้น
  • ปิดระบบสั่น แล้วหันมาใช้เสียงเรียกเข้าแทน
  • ปิดเครื่อง หรือเปิด Airplane Mode เมื่อไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานาน เช่น ตอนนอน เป็นต้น
External Battery
เทคโนโลยี 3G และการพัฒนาโทรศัพท์มือถือให้มีหน้าจอขนาดใหญ่ขึ้น ฟังก์ชั่นการใช้งานที่เยอะมากขึ้น เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แบตเตอรี่หมดไว จึงก่อให้เกิดอุปกรณ์เสริมประเภทหนึ่งขึ้นมา นั่นก็คือ External Battery หรือ แบตเตอรี่ไร้สายขนาดพกพานั่นเอง โดยถือว่า เป็นตัวช่วยที่จำเป็นต่อการใช้งานสมาร์ทโฟนในปัจจุบัน และลดปัญหาแบตเตอรี่หมดในช่วงเวลาฉุกเฉิน
ดย External Battery นั้น มีหลายขนาดความจุให้เลือก ไม่ว่าจะเป็น 3000 mAh, 5000 mAh หรือความจุเยอะถึง 13000 mAh เป็นต้น แน่นอนว่า ยิ่ง ความจุเยอะ ยิ่งทำให้สามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้นานขึ้น แต่ก็ต้องแลกมาด้วยราคาที่แพงขึ้น ขนาดใหญ่ขึ้น และน้ำหนักมากขึ้นด้วยเช่นกัน
นอกจากความจุของ External Battery ที่จำเป็นต้องพิจารณาในการเลือกซื้อแล้ว จะเห็นได้ว่า External Battery มีดีไซน์ที่แตกต่างกันไป ตามแบรนด์ ยี่ห้อ เป็นหลัก โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกซื้อได้ตามความชื่นชอบ และอย่าลืมว่า จะต้องเลือกให้เหมาะกับการใช้งานของเรามากที่สุดด้วยนะครับ
สามารถดูข้อมูลเกี่ยวกับ External Battery ได้ที่ http://www.lazada.co.th/shop-batteries-chargers/
ติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของเทคโนโลยีรอบโลกได้ที่นี่ >>> www.hitech.sanook.com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น